พะยูน (Dugong)
เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและหายใจด้วยปอดที่อาศัยอยู่ในทะเลจากหลักฐานต่างๆ เช่น การพบซากโบราณ(Fossil)และจากโครงร่างบางส่วนเช่น กระดูกครีบหน้าหรือขาคู่หน้าของพะยูนมีลักษณะคล้ายกระดูกนิ้วในสัตว์บก และส่วนที่หลงเหลือของกระดูกเชิงกรานจึงเชื่อว่าพะยูนมีวิวัฒนาการมาจากสัตว์กินพืช ที่อาศัยอยู่บนบก พะยูนถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ.1776โดยได้ตัวอย่างต้นแบบจากที่จับได้จากน่านน้ำแหลมกู้ดโฮบ ถึงฟิลลิปปินส์ เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายโลมาและปลาวาฬ เดิมพะยูนจึงถูกจัดรวมอยู่ในอันดับ (Order) เดียวกันคือ Cetacea แต่จากการศึกษาลักษณะโครงสร้างโดยละเอียดพบว่า มีความแตกต่างกันมาก กล่าวคือ มีขนาดเล็กกว่า หัวกลม รู จมูกแยกจากกัน ปากเล็ก มีฟันหน้าและฟันกรามพัฒนาดี ไม่เป็นฟันยอดแหลมธรรมดาเหมือนๆกันอย่างวาฬ และมีเส้นขนที่ริมฝีปากตลอดชีวิต (สวัสดิ์ วงศ์ถิรวัฒน์, 2539) พะยูนมีบรรพบุรุษเดียวกับช้าง?ในปี ค.ศ. 1816 De Blainville ได้เป็นบุคคลแรกที่ทำการแยกความแตกต่างระหว่างพะยูนกับโลมาและปลาวาฬ ออกจากกันและจัดพะยูนเข้าไว้ในกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีกีบ (ungulates) ในอันดับ Sirenia โดยนับว่าพะยูนมีบรรพบุรุษร่วมกันกับช้างมาก่อน รวมถึงการศึกษาซากโบราณของพะยูนชื่อ Eotheroides ในประเทศอียิปต์ พบว่ามีลักษณะบางอย่างเหมือนและใกล้เคียงกันกับ Moeritherium ซึ่งเป็นต้นตระกูลของช้างยุคอีโอซีนตอนต้น (Upper Eocene)หรือเมื่อประมาณ 40 ล้านปีมาแล้ว Eotheroides เป็นสัตว์มี 4 ขา มีฟันครบและอาศัยอยู่ในน้ำ ต่อมามีวิวัฒนาการเพื่อให้อาศัยอยู่ในน้ำได้ดีขึ้น โดยที่ขาหลังจะลดขนาดลงและหายไปในที่สุด ส่วนขาหน้าจะเปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะคล้ายใบพายเพื่อให้เหมาะสมกับการว่ายน้ำ จากนั้นก็มีวิวัฒนาการมาเรื่อยๆจนกลายมาเป็นพะยูนในปัจจุบัน (อนุวัฒน์ นทีวัฒนาและปิติวงศ์ ตันติโชดก, 2523) พะยูนอาศัยอยู่ที่ไหนบ้าง?พะยูนมีการกระจายอยู่ตามชายฝั่งทะเลในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนทั่วโลก พบบริเวณมหาสมุทรอินเดียตั้งแต่ชายฝั่งตะวันออกของทวีปอัฟริกาไปจนถึงทะเลแดง รอบๆเกาะมาดากัสการ์และอีกหลายเกาะในมหาสมุทรอินเดีย บริเวณชายฝั่งตะวันตกของประเทศอินเดีย ศรีลังกา ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ลงมาถึงมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้เช่น นิวกินี บริเวณชายฝั่งทางตอนเหนือของทวีปออสเตรเลียและหมู่เกาะต่างๆในมหาสมุทรแปซิฟิกเช่น หมู่เกาะโซโลมอน หมู่เกาะมาร์แชลและบริเวณตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกเคยมีรายงานว่าพบพะยูนที่ หมู่เกาะริวกิว รวมถึงชายฝั่งตะวันออกของประเทศจีนซึ่งปรากฏว่าพะยูนเคยเข้าไปอาศัยตามแม่น้ำสายต่างๆที่ติตต่อกับทะเลเปิด (Nowakand Paradiso, 1983; Jefferson et al., 1993)เฉพาะประเทศไทยเคยมี พะยูนมาอาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลทั้ง 2 ด้านของประเทศ แต่ปัจจุบันมีพะยูนเหลือแต่ทางด้านทะเลอันดามันชายฝั่งด้านตะวันตกของประเทศ มีแหล่งที่อยู่ที่สำคัญคือบริเวณชายฝั่งทะเลอุทยานแห่งชาติเจ้าไหมและเกาะลิบง จังหวัดตรัง คาดว่ามีพะยูนเหลืออยู่ไม่เกิน 10 ตัว (ทวีศักดิ์ ปิยกาญจน์, 2535 อ้างถึงใน สวัสดิ์ วงศ์ถิรวัฒน์, 2539)
การล่าพะยูนของชาวพื้นเมือง
พะยูนถูกล่าโดยชาวอะบอร์ริจิน และ ชาวเกาะ Torres strait มาเป็นเวลามากกว่า 1,000 ปีแล้ว ชุมชนได้มีการเลือกหรือกำหนดว่าใครบ้างที่สามารถจับมันได้ และวิธีการจับนั้นต้องใช้วิธีไหน นักล่าพื้นเมืองจะได้รับการเลือกโดยคนในชุมชนของพวกเขาตามประเพณี พะยูนถูกล่าด้วยการขว้างฉมวกที่มัดด้วยเชือกจากเรือแคนู และจะถูกนำมามัดหางจนกระทั่งมันจมน้ำตาย ปัจจุบันได้ถูกแทนที่โดยเรือแคนูที่มีเสากระโดงใบเรือ (Bark canoes) นักล่าจะใช้ เรือบดอลูมิเนียม และใช้เครื่อง speed boat outboard เพื่อหาพะยูน ขณะที่เทคโนโลยีได้เข้าไปเปลี่ยนชุมชนชาวอะบอร์ริจินไป การล่าพะยูนตามประเพณีที่สำคัญไม่มีแล้ว แต่มันมีการล่าเพื่อจำหน่าย และการล่านี้ไม่ได้ช่วยเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในชุมชนด้วยกันแบบในประเพณีดั้งเดิมเหมือนเมื่อก่อนเนื้อพะยูนเป็นแหล่งของโปรตีนที่สำคัญ สำหรับกลุ่มชุมชนพื้นเมืองที่อยู่ห่างไกล พะยูนตัวใหญ่ๆจะมีเนื้อหลายกิโลกรัม พื้นที่ที่ยังคงมีพะยูนอาศัยอยู่จะเป็นพื้นที่ที่มีค่าทางเศรษฐกิจในเชิงแหล่งอาหารต่อชาวพื้นเมือง นอกจากนี้ยังมีค่าในเชิงวัฒนธรรมการล่า และการจำหน่ายเนื้อชุมชนพื้นเมืองใน Great Barrior Reef Marine Park (GBRMP) มีผลเกี่ยวกับการลดจำนวนลงของพะยูนอย่างเห็นได้ชัด แต่ในหลายๆชุมชนเริ่มตระหนัก และกำลังเปลี่ยนกลายไปสู่การอนุรักษ์และการจัดการพะยูนในอนาคต
No comments:
Post a Comment