สัตว์น้ำคุ้มครองและใกล้สูญพันธุ์

สัตว์น้ำคุ้มครองและใกล้สูญพันธุ์
โปรดช่วยกันอนุรักษ์สัตว์น้ำที่ใกล้สูญพันธุ์

Monday, December 25, 2006

ปัญหาการทำลายทรัพยากร

การประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการประมงอวนรุนจากการศึกษาของศูนย์พัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนล่าง กรมประมง ผลจากการศึกษาสภาวะการประมงอวนรุนบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง พบว่าสัดส่วนลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจและปลาเป็ดแท้ จากการทำประมงอวนรุน มีความแตกต่างกันมากระหว่างอวนรุนใหญ่และอวนรุนเล็กมีค่าเท่ากับ 58:42 และ 70:30 ตามลำดับ เมื่อเฉลี่ยสัดส่วนของอวนรุนทั้ง 2 ประเภทมีค่าเท่ากับ 60 40จากสัดส่วนดังกล่าวนี้นำมาประเมินหาปริมาณ ลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่ปะปนอยู่ในปลาเป็ด โดยน้ำหนักของอวนรุนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างที่นำขึ้นมาใช้ประโยชน์ทั้งสิ้น 836 ตัน คิดเป็นมูลค่า 2.23 ล้านบาท (สถิติกรมประมง , 2533) คิดเฉลี่ยโดยน้ำหนักเป็น ลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ปะปนอยู่ในปลาเป็ดทั้งสิ้น 502 ตัน จะเห็นว่าในปีหนึ่งๆ อวนรุนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทำลายลูกสัตว์น้ำที่ถูกจับขึ้นมาก่อนวัยอันเหมาะสมคิดเป็นมูลค่ามหาศาล ทั้งนี้เพราะอวนรุนมักจะทำการ ประมงบริเวณใกล้ฝั่งหรือกล่าวได้ว่าอยู่ในเขต 3,000 เมตรทั้งสิ้น ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน ยกเว้นการทำประมงอวนรุนใหญ่ในบางฤดูการเท่านั้น นับเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำเสื่อมโทรมลง ซึ่งในการจัดการประมง นับว่าเป็นการใช้ ทรัพยากรไปอย่างขาดประสิทธิภาพ กล่าวคือ แทนที่จะปล่อยให้สัตว์น้ำที่ยังเติบโตไม่ได้ขนาดนั้น เจริญเติบโตไป อีกระยะหนึ่ง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มขนาดและมูลค่า และ ได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่า กับการนำเอาสัตว์ที่ยังมีขนาดเล็กมากมาใช้และขายในราคาต่ำรวมกับปลาเป็ด หากมีการชะลอการจับลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจเหล่านี้ให้โตขึ้นมาจนขนาดพอควร สัตว์น้ำต่างๆ จะมีโอกาสขยายพันธุ์ให้ลูกสัตว์น้ำไว้สืบต่อทดแทนสัตว์น้ำขนาดใหญ่ที่ถูกจับไป ทรัพยากรก็จะไม่เสื่อมโทรมอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้จากการศึกษาดังกล่าว ได้รายงานให้เห็นความสูญเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการประมงอวนรุน บริเวณอ่าวไทยตอนล่างในปี 2533 สามารถประเมินให้เห็นภาพรวมได้โดยคำนวณจากเรืออวนรุนที่ทำการประมงทั้ง 4 แหล่ง คือ บริเวณอ่าวปัตตานี,บริเวณนอกอ่าวปัตตานี,บริเวณทะเลสาบตอนนอกของทะเลสาบสงขลา,บริเวณอ่าวนครฯ จ.นครศรีธรรมราช จะประกอบด้วยอวนรุนใหญ่ประมาณ 80 ลำและอวนเล็กประมาณ 400 ลำ เรือดังกล่าวสามารถออกทำประมงได้เต็มที่ประมาณ 8 เดือนๆละ 20 วัน ฉะนั้นสามารถคำนวณความสูญเสียทางเศรษฐกิจทั้งหมดจากการที่อวนรุนจับสัตว์น้ำขึ้นมาก่อนวัยอันเหมาะสม มีมูลค่าทั้งสิ้นเท่ากับ 135 ล้านบาทต่อปี เมื่อพิจารณาจากผลผลิต ปลาเป็ดและมูลค่าบริเวณอ่าวไทยตอนล่างปี 2533ปลาเป็ดมีราคาเฉลี่ยทั้งหมดเท่ากับ 2,667 บาท/ตัน หรือ 2.27 บาท/กก. จากผลผลิตปลาเป็ดทั้งหมดประเมินได้ว่าเป็นลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจอยู่ถึง 502 ตัน เมื่อขายเป็นปลาเป็ดจะได้มูลค่าเพียง1.34 ล้านบาทเท่านั้น ดั้งนั้นการประมงอวนรุนจึงก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจถึงปีละ 135 ล้านบาทจากรายงานศึกษาวิจัยของกรมประมงตามตารางดังกล่าวข้างต้น สามารถประมาณความสูญเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการประมงอวนรุนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างในปี 2533 ให้เห็นภาพรวมได้โดยคำนวณจากจำนวน เรืออวนรุนที่ทำการประมงบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทั้ง 4 แหล่ง ที่กล่าวไว้แล้วตอนต้


ฉลามวาฬ (Whale Shark)
ชื่อวงศ์ (Family name) : Rhincodontidae.
ชื่อสามัญ : ปลาฉลามวาฬ (Whale Shark)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhincodon typus (Smith, 1828)
ขนาดตัวเต็มวัย : ยาวมากกว่า 30 - 40 ฟุต (9-12 เมตร)
แหล่งที่อยู่อาศัย : บริเวณแนวปะการัง และ ด้านนอกทะเลเปิด
การพบเห็น : พบเห็นทั่วไป
แหล่งอาหาร : แพลงก์ตอน
ลักษณะของฉลามวาฬ
ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่า ตัวใหญ่มหึมามาก โดยตัวโตเต็มที่อาจยาวถึง 50 ฟุต (15 เมตร) นับเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกนี้ในปัจจุบัน ความกว้างของปาก ใกล้เคียงกับความกว้างของหัว ตัวมีสีตั้งแต่สีเทาดำ จนถึงสีน้ำตาลแดง หรือน้ำตาลออกเขียว ที่ด้านหลังและ ด้านข้าง รวมถึงผวด้านบนเหนือครีบหน้า (Pectorals) ฉลามวาฬจะมีจุดกลม ๆ ถี่ๆ สีขาว หรือสีเหลือง เรียงเป็นแนวตามลำตัว จุดเล็กที่สุดจะอยู่บริเวณหัว ที่อื่นๆ อาจจะพบไม่ถี่มาก อาจมีแถบเส้นแคบๆ สีขาว หรือ สีเหลืองพาดตามขวาง ด้านท้องและส่วนล่างมีสีขาวหรือเหลืองอ่อน ฉลามวาฬขนาด 480 นิ้ว (1,200 เซนติเมตร) จะมีน้ำหนักประมาณ 12,500 กิโลกรัม ปลาฉลามแบ่งออกเป็น 8 Order ตามลักษณะกายวิภาคของมัน ซึ่งลักษณะที่ใช้ในการจำแนก เช่น การมีและไม่มีครับก้น และจำนวนช่องเหงือก ฉลามวาฬได้ถูกจัดให้อยู่ใน order Orectolobiformes ซึ่งมีช่องเหงือก 5 อัน มีครีบก้น มีครับหลัง 2 ตอน ไม่มีหนามที่ครีบ และตำแหน่งของปากอยู่ตรงด้านหน้าของตา ลักษณะของหางเป็นแบบ Heterocercal tail ซึ่งฉลามใน order นี้ บางชนิดอาจจะมีหางยาวมากครีบหางมีขนาดใหญ่มีร่องบุ๋ม (Notch) ที่ฐานโคนหางด้านบน และมีสันนูน (Keel) ในแต่ละด้านของโคนหาง มีครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอน มีปากขนาดใหญ่ อาจกว้างถึง 5 ฟุต มีฟันเล็กๆ ลักษณะรูปทรงกรวยโค้ง มีตาขนาดเล็กและที่ตาไม่มีเยื่อหุ้มปิดตา (Nictating membrane) มีเหงือกเป็นท่อขนาดเล็กๆ หายใจโดยใช้แรงดันน้ำผ่านเหงือกเมื่อเวลาปากปิด และอาหารพวกแพลงก์ตอนจะถูกกรองโดยเหงือกกักเก็บไว้เป็นก้อนๆ แล้วกลืนลงไปทางท่ออาหาร หัวของปลาฉลามวาฬด้านบนมีลักษณะแบนมากและไม่พบจงอยปากชัดเจน มีปากเป็นแบบ anterior margin ซึ่งต่างจากปากของปลาฉลามอื่นๆ มีSpiracle ใหญ่กว่าตา อยู่ห่างไปทางด้านหลังเหนือตาเล็กน้อย ฟันเหมือนกันทั้งขากรรไกรบนและล่าง มีแถวละประมาณ 300 ซี่ มี 10 แถว แถวที่ 10 - 15 ฟันจะเป็นแบบ Dental band ที่ปรากฎอยู่คล้ายตะไบใหญ่บนขากรรไกร-จากนั้นเป็นต้นมามันก็มีชื่อว่า Rhincodon หรือ ชื่อเดิมคือ พวกมีฟันตะไบ ฉลามวาฬแตกต่างจากปลาฉลามกลุ่มอื่นๆ ตรงที่ ลักษณะของหัวซึ่งกว้างมาก เหมือนพวก Orectolobiform sharks อื่นๆ มีปากกว้างอยู่ด้านหน้าของของหัว ช่องเปิด olfactory opening จะอยู่เหนือริมฝีปากบน ซ่อนอยู่ในร่องโพรงจมูก มีเส้นขน barbelอยู่ภายในร่อง คล้ายกับฉลามอีกพวก หนึ่งคือ carpetshark family พวก Nerse sharks คือวงศ์ Ginglymostomatidae ตาของฉลามวาฬจะมีขนาดเล็ก และตั้งอยู่ด้านหลังของมุมปาก (ขากรรไกร) ฉลามวาฬจะปิดตาของมันโดยการหมุนนัยน์ตา และดูดมันกลับไปสู่ที่หัวของมันผิวหนังด้านหลังของฉลามวาฬจะหนากและเหนียวกว่าสัตว์ชนิดอื่น ๆ ในโลก ผิวชั้นนอกถูกปกคลุมทับซ้อนกันระหว่างเกล็ดแข็งๆ ที่สารคล้ายสารเคลือบฟัน (dermal denticles) เป็นเสมือนชุดเกราะจริงๆ เกล็ดแต่ละอันมีขนาดกว้าง 0.5 มิลลิเมตร ยาว 0.75 มิลลิเมตร แต่ละอันจะมีปลายแหลมยื่นออกมาลู่ไปทางด้านหลัง หนังชั้นในถัดลงไปจะเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งมีความหนาถึง 14 เซนติเมตร ส่วนหนังด้านท้องจะมีความอ่อนบาง และความหนาของหนังชั้นในจะมีความหนาเพียง 2/3 เท่าของความหนาของหนังด้านหลัง
ปฏิรูปพระราชบัญญัติการประมง ๒๔๙๐

พ.ร.บ.การประมงขาดประสิทธิภาพในการจัดการประมงทะเลอย่างยั่งยืน ก่อนปี ๒๕๐๓ ไทยจับสัตว์น้ำได้ปีละ ๑๕๐,๐๐๐ ตัน เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนถึง ๑.๕ ล้านตันในปี ๒๕๑๕ และปี ๒๕๒๐ มีการพัฒนาอวนล้อมจับปลาผิวน้ำปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้เพิ่มเป็น ๒ ล้านตัน และ ๒.๗๕๓ล้านตันในปี ๒๕๓๖ พร้อมกับปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้เพิ่มขึ้น ทะเลไทยเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว ปี ๒๕๐๔ สามารถจับสัตว์น้ำในอ่าวไทยได้ชั่วโมงละ ๒๙๘ กิโลกรัม ลดลงเหลือเพียงชั่วโมงละ ๒๐ กิโลกรัมในปี ๒๕๓๒ ขณะที่ดร.เชาวลิต วิทยานนท์ ทำการศึกษาในปี ๒๕๔๑ พบว่า จำนวนการจับลดลงเหลือ ๗ กิโลกรัมต่อชั่วโมง นอกจากนี้ปลาที่จับได้เป็นปลาขนาดเล็กและลูกปลาเศรษฐกิจร้อยละ ๔๐ รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมระบุว่า ปริมาณการจับสัตว์น้ำอย่างยั่งยืนในทะเลไทยไม่ควรเกินปีละ ๑.๔ ล้านตัน แยกเป็นปลาผิวน้ำ ๔๕๐,๐๐๐ ตัน ปลาหน้าดิน ๙๕๐,๐๐๐ ตัน แต่การประมงทะเลไทยจับสัตว์น้ำสูงกว่า ๒.๕ ล้านตันต่อปี การจับสัตว์น้ำทะเลได้ปริมาณมากขึ้นทั้งๆที่ความอุดมสมบูรณ์ของอ่าวไทยลดลง เกิดจากการใช้วิธีการประมงที่ทำลายทรัพยากรมากขึ้น ตลอดจนการใช้เครื่องมือประมงที่จับสัตว์น้ำได้มากชนิดกว่าที่ต้องการ ทำให้เกิดการประมงมวลชีวภาพคือมุ่งกวาดล้างสัตว์น้ำทะเลทุกชนิด อธิบดีกรมประมง นายธำรงค์ ประกอบบุญ ยอบรับว่า ปัจจุบันทะเลไทยจับปลาได้น้อยมาก เพราะว่าเราไม่ได้มีการวางแผนการจัดการประมงมาก่อน และปัญหาอวนลาก อวนรุนละเมิดกฎหมายรุกล้ำเข้ามากวาดจับสัตว์น้ำในเขต ๓,๐๐๐ เมตร และเขตปิดอ่าว โดยที่กรมประมงยังไม่สามารถดำเนินการเรื่องห้ามทำการประมงในเขต ๓,๐๐๐ เมตรให้เป็นรูปธรรม รายงานการศึกษาของคณะอนุกรรมการศึกษาและกำหนดมาตรการที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาการทำการประมงปลากระตักโดยใช้แสงไฟประกอบ กล่าวถึง ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายและประสิทธิภาพของกฎหมายประมงไว้ว่า * ) คดีความผิดตามกฎหมายประมงเป็นคดีขึ้นศาลแขวงต้องส่งฟ้องภายใน ๔๘ ชั่วโมงทำให้เรือประมงสามารถกลับไปทำการประมงได้อีกอย่างรวดเร็ว * ) เป็นคดีที่ทำผิดในทะเลทำให้การจับกุมและรวบรวมพยานหลักฐานยุ่งยาก จึงจับกุมได้เพียงบางส่วนของผุ้กระทำผิดเท่านั้น* ) ปัญหาเรื่องเขตอำนาจสอบสวน (เนื่องจากเขตการปกครองทางทะเลไม่ชัดเจน เมื่อเกิดการกระทำผิดจึงไม่สามารถระบุได้ว่า อยู่ในเขตของอำเภอ จังหวัดใด) * ) ปัญหาข้อกฎหมาย เรื่องเครื่องมือประมงที่ไม่รวมกับเรือ * ) บทกำหนดโทษเบาทำให้ชาวประมงไม่เกรงกลัวเพราะผลประโยชน์ที่ได้คุ้มค่า* ) ไม่มีการริบเรือหรือเครื่องมือประมง เพราะชาวประมงใช้ช่องว่างทางกฎหมายโดยทำสัญญาเช่าแสดงไว้ในการขอคืนของกลางต่อศาล เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๓ (๑) กำหนดให้เป็นดุลยพินิจของศาลในการรับทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ให้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิด แต่หากทรัพย์สินนั้นเป็นของผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดจะริบไม่ได้พ.ร.บ.การประมง ๒๔๙๐ เริ่มบังคับใช้ช่วงต้นของการพัฒนาการประมงทะเล (ปี ๒๔๙๐ถึง ปี ๒๕๑๕) แต่จากปี ๒๕๑๖ จนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า ๒๖ ปีที่การประมงทะเลเริ่มเข้าสู่ยุคของการทำลายตัวเองด้วยการประมงที่ทำลายทรัพยากร และมุ่งกวาดล้างสัตว์น้ำโดยที่การควบคุมและการบังคับใช้ พ.ร.บ.การประมง ๒๔๙๐ ไม่สามารถหยุดยั้งการทำลาย และในหลายกรณีกฎหมายได้เอื้ออำนวยให้การทำลายล้างทวีความรุนแรงมากขึ้น - พ.ร.บ.การประมง ๒๔๙๐ มีช่องว่างที่เปิดให้เจ้าหน้าที่รัฐบางส่วนใช้เป็นเครื่องมือในการทุจริต ดังมติคณะรัฐมนตรี ๒๕ มกราคม ๒๕๔๓ เรื่องมาตรการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบเกี่ยวกับการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการประมง ๒๔๙๐ ให้แก้ไขพ.ร.บ.การประมง ๒๔๙๐ โดยเพิ่มบทลงโทษผู้ทำการประมงโดยใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมายจนทำให้เกิดความ เสียหายแก่ทรัพยากรทางทะเลให้สูงขึ้นใกล้เคียงกับอัตราโทษตามความผิดที่เกิดจากการสร้างความ เสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ และให้เพิ่มบทบัญญัติว่าด้วย การสันนิษฐานไว้ก่อนว่า เจ้าของเรือหรือเจ้าของเครื่องมือประมงที่ใช้กระทำผิดมีส่วนรู้เห็นเป็นใจกับการกระทำผิด และให้ริบเรือประมงหรือเครื่องมือนั้นเสีย โดยไม่ต้องคำนึงว่า จะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อปิดช่องว่างของกฎหมายและป้องกันการใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบของเจ้าหน้าที่- พระราชบัญญัติการประมง ๒๔๙๐ ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ในมาตราที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและการมีส่วนร่วมของบุคคล


พะยูน (Dugong)

เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและหายใจด้วยปอดที่อาศัยอยู่ในทะเลจากหลักฐานต่างๆ เช่น การพบซากโบราณ(Fossil)และจากโครงร่างบางส่วนเช่น กระดูกครีบหน้าหรือขาคู่หน้าของพะยูนมีลักษณะคล้ายกระดูกนิ้วในสัตว์บก และส่วนที่หลงเหลือของกระดูกเชิงกรานจึงเชื่อว่าพะยูนมีวิวัฒนาการมาจากสัตว์กินพืช ที่อาศัยอยู่บนบก พะยูนถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ.1776โดยได้ตัวอย่างต้นแบบจากที่จับได้จากน่านน้ำแหลมกู้ดโฮบ ถึงฟิลลิปปินส์ เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายโลมาและปลาวาฬ เดิมพะยูนจึงถูกจัดรวมอยู่ในอันดับ (Order) เดียวกันคือ Cetacea แต่จากการศึกษาลักษณะโครงสร้างโดยละเอียดพบว่า มีความแตกต่างกันมาก กล่าวคือ มีขนาดเล็กกว่า หัวกลม รู จมูกแยกจากกัน ปากเล็ก มีฟันหน้าและฟันกรามพัฒนาดี ไม่เป็นฟันยอดแหลมธรรมดาเหมือนๆกันอย่างวาฬ และมีเส้นขนที่ริมฝีปากตลอดชีวิต (สวัสดิ์ วงศ์ถิรวัฒน์, 2539) พะยูนมีบรรพบุรุษเดียวกับช้าง?ในปี ค.ศ. 1816 De Blainville ได้เป็นบุคคลแรกที่ทำการแยกความแตกต่างระหว่างพะยูนกับโลมาและปลาวาฬ ออกจากกันและจัดพะยูนเข้าไว้ในกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีกีบ (ungulates) ในอันดับ Sirenia โดยนับว่าพะยูนมีบรรพบุรุษร่วมกันกับช้างมาก่อน รวมถึงการศึกษาซากโบราณของพะยูนชื่อ Eotheroides ในประเทศอียิปต์ พบว่ามีลักษณะบางอย่างเหมือนและใกล้เคียงกันกับ Moeritherium ซึ่งเป็นต้นตระกูลของช้างยุคอีโอซีนตอนต้น (Upper Eocene)หรือเมื่อประมาณ 40 ล้านปีมาแล้ว Eotheroides เป็นสัตว์มี 4 ขา มีฟันครบและอาศัยอยู่ในน้ำ ต่อมามีวิวัฒนาการเพื่อให้อาศัยอยู่ในน้ำได้ดีขึ้น โดยที่ขาหลังจะลดขนาดลงและหายไปในที่สุด ส่วนขาหน้าจะเปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะคล้ายใบพายเพื่อให้เหมาะสมกับการว่ายน้ำ จากนั้นก็มีวิวัฒนาการมาเรื่อยๆจนกลายมาเป็นพะยูนในปัจจุบัน (อนุวัฒน์ นทีวัฒนาและปิติวงศ์ ตันติโชดก, 2523) พะยูนอาศัยอยู่ที่ไหนบ้าง?พะยูนมีการกระจายอยู่ตามชายฝั่งทะเลในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนทั่วโลก พบบริเวณมหาสมุทรอินเดียตั้งแต่ชายฝั่งตะวันออกของทวีปอัฟริกาไปจนถึงทะเลแดง รอบๆเกาะมาดากัสการ์และอีกหลายเกาะในมหาสมุทรอินเดีย บริเวณชายฝั่งตะวันตกของประเทศอินเดีย ศรีลังกา ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ลงมาถึงมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้เช่น นิวกินี บริเวณชายฝั่งทางตอนเหนือของทวีปออสเตรเลียและหมู่เกาะต่างๆในมหาสมุทรแปซิฟิกเช่น หมู่เกาะโซโลมอน หมู่เกาะมาร์แชลและบริเวณตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกเคยมีรายงานว่าพบพะยูนที่ หมู่เกาะริวกิว รวมถึงชายฝั่งตะวันออกของประเทศจีนซึ่งปรากฏว่าพะยูนเคยเข้าไปอาศัยตามแม่น้ำสายต่างๆที่ติตต่อกับทะเลเปิด (Nowakand Paradiso, 1983; Jefferson et al., 1993)เฉพาะประเทศไทยเคยมี พะยูนมาอาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลทั้ง 2 ด้านของประเทศ แต่ปัจจุบันมีพะยูนเหลือแต่ทางด้านทะเลอันดามันชายฝั่งด้านตะวันตกของประเทศ มีแหล่งที่อยู่ที่สำคัญคือบริเวณชายฝั่งทะเลอุทยานแห่งชาติเจ้าไหมและเกาะลิบง จังหวัดตรัง คาดว่ามีพะยูนเหลืออยู่ไม่เกิน 10 ตัว (ทวีศักดิ์ ปิยกาญจน์, 2535 อ้างถึงใน สวัสดิ์ วงศ์ถิรวัฒน์, 2539)
การล่าพะยูนของชาวพื้นเมือง
พะยูนถูกล่าโดยชาวอะบอร์ริจิน และ ชาวเกาะ Torres strait มาเป็นเวลามากกว่า 1,000 ปีแล้ว ชุมชนได้มีการเลือกหรือกำหนดว่าใครบ้างที่สามารถจับมันได้ และวิธีการจับนั้นต้องใช้วิธีไหน นักล่าพื้นเมืองจะได้รับการเลือกโดยคนในชุมชนของพวกเขาตามประเพณี พะยูนถูกล่าด้วยการขว้างฉมวกที่มัดด้วยเชือกจากเรือแคนู และจะถูกนำมามัดหางจนกระทั่งมันจมน้ำตาย ปัจจุบันได้ถูกแทนที่โดยเรือแคนูที่มีเสากระโดงใบเรือ (Bark canoes) นักล่าจะใช้ เรือบดอลูมิเนียม และใช้เครื่อง speed boat outboard เพื่อหาพะยูน ขณะที่เทคโนโลยีได้เข้าไปเปลี่ยนชุมชนชาวอะบอร์ริจินไป การล่าพะยูนตามประเพณีที่สำคัญไม่มีแล้ว แต่มันมีการล่าเพื่อจำหน่าย และการล่านี้ไม่ได้ช่วยเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในชุมชนด้วยกันแบบในประเพณีดั้งเดิมเหมือนเมื่อก่อนเนื้อพะยูนเป็นแหล่งของโปรตีนที่สำคัญ สำหรับกลุ่มชุมชนพื้นเมืองที่อยู่ห่างไกล พะยูนตัวใหญ่ๆจะมีเนื้อหลายกิโลกรัม พื้นที่ที่ยังคงมีพะยูนอาศัยอยู่จะเป็นพื้นที่ที่มีค่าทางเศรษฐกิจในเชิงแหล่งอาหารต่อชาวพื้นเมือง นอกจากนี้ยังมีค่าในเชิงวัฒนธรรมการล่า และการจำหน่ายเนื้อชุมชนพื้นเมืองใน Great Barrior Reef Marine Park (GBRMP) มีผลเกี่ยวกับการลดจำนวนลงของพะยูนอย่างเห็นได้ชัด แต่ในหลายๆชุมชนเริ่มตระหนัก และกำลังเปลี่ยนกลายไปสู่การอนุรักษ์และการจัดการพะยูนในอนาคต

เต่าทะเล


เต่าทะเล(Sea Turtle)


เต่าทะเล (Sea Turtle)เต่าทะเลเป็นสัตว์โลกดึกดำบรรพ์บรรพบุรุษเกิดในยุคเดียวกับไดโนเสาร์ เต่าทะเลที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นสันนิษฐานว่าเกิดในราว 60-70 ล้านปีมาแล้ว ซากฟอสซิลชองเต่าทะเลทำให้เราสืบค้นได้ว่า เต่าทะเลมีวิวัฒนาการสืบทอดกันมากว่า 200 ล้านปี และเมื่อเร็วๆนี้มีการพบซากฟอสซิลเต่าทะเลที่ เซาท์ดาโกต้า ประเทศสหรัฐอเมริกา มีความกว้างถึง 60 เมตร คำนวณอายุได้ประมาณ 70 ล้านปี ซึ่งเป็นยุคที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกยังเป็นน้ำอยู่ เต่าทะเลวางไข่เมื่อไหร่? เมื่อถึงฤดูวางไข่เต่าตัวเมียที่เจริญเติบโตพอที่จะแพร่พันธุ์ได้จะเดินทางจากแหล่งอาศัยหรือแหล่งอาหารไปยังแหล่งผสมพันธุ์ ซึ่งจะมีแหล่งแน่นอนและคาดว่าไม่น่าจะไกลจากแหล่งวางไข่มากนัก เต่าตัวเมียจะสามารถเก็บน้ำเชื้อตัวผู้ไว้ในรังไข่จำนวนมากพอที่จะผสมกับไข่ได้ตลอดฤดูการวางไข่แต่ละครั้งจึงไม่ต้องมาผสมพันธุ์กันใหม่อีก (มีการศึกษาพบว่าเต่ามะเฟืองในคอสตาริก้าตัวเดียวสามารถขึ้นวางไข่ถึง 8 ครั้งในฤดูกาลเดียว) สิ่งที่น่าสังเกตคือ เต่ามักจะเดินทางไปวางไข่ ณ แหล่งกำเนิดซึ่งตรงกับความเชื่อของชาวบ้านไม้ขาว ต.ถลาง จ.ภูเก็ต การขึ้นวางไข่ของเต่าเท่าที่สำรวจพบแล้วนั้น ล้วนแต่เป็นเรื่องน่าพิศวง! เต่าแต่ละชนิดจะขึ้นวางไข่ในช่วงเวลาที่แตกต่างกันตลอดทั้งปี และเต่าชนิดเดียวกันแต่อาศัยในสถานที่ต่างกันก็วางไข่ในฤดูกาลที่แตกต่างกันในหนึ่งฤดูกาลแม่เต่าตัวเดียวสามารถวางไข่ได้ 2- 3 ครั้งๆ ละประมาณ 50 - 150 ฟอง แต่ละครั้งจะห่างกันสองสัปดาห์ ถึงแม้ว่าเต่าจะสามารถวางไข่ได้มากในหนึ่งฤดูกาล แต่อัตรารอดจนเติบโตที่จะแพร่พันธุ์ได้ นั้นมีไม่ถึง 0.04 เปอร์เซ็นต์สำหรับจุดวางไข่แม่เต่าจะเลือกจุดที่ขึ้นวางไข่นั้น จะต้องเป็นชายหาดที่เงียบสงบ ไม่มีกิจกรรมพลุกพล่าน และต้องเป็นจุดที่เลยเขตน้ำข้นสูงสุดเพื่อป้องกันน้ำทะเลชะล้างไข่ลงทะเลก่อนฟักเป็นตัว หลายต่อหลายครั้งที่แม่เต่าขึ้นมาวางไข่แล้วพบว่าชายหาดนั้นพลุกพล่านไปด้วยผู้คนก็จะกลับลงทะเลไปเพื่อจะกลับมาใหม่อีกครั้ง ส่วนใหญ่แม่เต่าจะขึ้นวางไข่ในยามค่ำคืน น้อยครั้งมากที่แม่เต่าจะขึ้นวางไข่ในช่วงกลางวัน ในประเทศไทยส่วนใหญ่เต่าจะขึ้นวางไข่ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธุ์ โดยประมาณ

Tuesday, December 12, 2006

สัตว์ทะเลใกล้สูญพันธุ์

สัตว์ทะเลใกล้สูญพันธุ์
ปลาวาฬและโลมาจัดเป็นสัตว์เลือดอุ่น และเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในน้ำ มีหลักฐานทางว่าครั้งหนึ่งเคยอาศัยอยู่บนบก และวิวัฒนาการไปอาศัยอยู่ในน้ำเมื่อเวลาประมาณ 45 ล้านปีมาแล้ว โดยมีการปรับตัวเพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ในน้ำ เช่น ทำรูปร่างให้เพรียวเพื่อว่ายน้ำได้เร็ว เนื่องจากยังใช้ปอดในการหายใจ จมูกหรือช่องหายใจจึงเลื่อนไปอยู่บนสุดของส่วนหัว เพื่อสะดวกต่อการหายใจ ท่อหายกับช่องปากจะแยกกันเพื่อสะดวกในการกินอาหารใต้น้า ปลาวาฬและโลมาจัดเป็นสัตว์สังคม อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีการสื่อสารระหว่างกันโดยใช้เสียง โดยเฉพาะในกลุ่มของปลาวาฬและโลมาที่มีฟันสามารถใช้ระบบส่งสัญญาณเสียงสะท้อนกลับ (echo) ซึ่งใช้ในการรับรู้สภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวและการหาอาหารปลาวาฬและโลมาที่พบในประเทศไทยขณะนี้ปลาวาฬและโลมาที่พบเห็นในประเทศไทยขณะนี้ มี 22 ชนิด (species) จัดอยู่เป็น 6 วงศ์ (family) จากจำนวน 80 ชนิดเท่าที่พบทั่วโลกซึ่งจะเห็นได้ว่าน่านน้ำไทยมีความหลากหลายมาก เพราะขนาดสัตว์ใหญ่เช่นนี้ก็ยังมีรายงานไว้ไม่ครบ บ่งบอกได้ว่าในแง่ความหลากหลายทางชีวภาพ ทะเลไทยยังมีอะไรให้ศึกษาอีกมากจะเจอปลาวาฬและโลมาได้ที่ไหนบ้าง?ถ้าจัดแบ่งปลาวาฬและโลมาตามแหล่งที่อยู่อาศัยจะพบว่า ปลาวาฬและโลมาบางชนิดมีการแพร่กระจายทั้งทางฝังทะเลอันดามันและอ่าวไทย บางชนิดมีเฉพาะทะเลอันดามันเท่านั้น มีทั้งชนิดที่อาศัยในน้ำจืด-น้ำกร่อย (inland-coastal species) ได้แก่โลมาอิระวดี ซึ่งมีรายงานพบอาศัยอยู่ในทะเลสาบลำปำ จังหวัดพัทลุงและสงขลา ในแม่น้ำโขงจังหวัดอุบลราชธานี อีกกลุ่มหนึ่งเป็นโลมาที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งและปากแม่น้ำ (coastal species) ชนิดที่พบทั่วไปทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ดัแก่ โลมาเผือก โลมาหัวบาตรหลังเรียบ กลุ่มสุดท้ายหากินอยู่ในทะเลเปิด (oceanic species) ซ฿งพบเฉพาะทางฝั่งทะเลอันดามันเท่านั้น ได้แก่ กลุ่มปลาวาฬหัวทุย ปลาวาฬหัวแตงโม ปลาวาฬฟันสองซี่ โลมาแถบ เป็นต้นความหลากหลายด้านชนิดพันธุ์ของปลาวาฬและโลมาทางฝั่งทะเลอันดามันมีมากกว่าอ่าวไทยอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากมีพื้นที่มากกว่า น้ำลึกมากกว่า และอาจรวมถึงความอุดมสมบูรณ์ซึ่งมีมากกว่าด้วย
Limk http://www.wildlifefund.or.th/06_Marinewildlife/dolphin/marine_dolphin00.html