สัตว์น้ำคุ้มครองและใกล้สูญพันธุ์

สัตว์น้ำคุ้มครองและใกล้สูญพันธุ์
โปรดช่วยกันอนุรักษ์สัตว์น้ำที่ใกล้สูญพันธุ์

Monday, December 25, 2006

ปัญหาการทำลายทรัพยากร

การประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการประมงอวนรุนจากการศึกษาของศูนย์พัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนล่าง กรมประมง ผลจากการศึกษาสภาวะการประมงอวนรุนบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง พบว่าสัดส่วนลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจและปลาเป็ดแท้ จากการทำประมงอวนรุน มีความแตกต่างกันมากระหว่างอวนรุนใหญ่และอวนรุนเล็กมีค่าเท่ากับ 58:42 และ 70:30 ตามลำดับ เมื่อเฉลี่ยสัดส่วนของอวนรุนทั้ง 2 ประเภทมีค่าเท่ากับ 60 40จากสัดส่วนดังกล่าวนี้นำมาประเมินหาปริมาณ ลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่ปะปนอยู่ในปลาเป็ด โดยน้ำหนักของอวนรุนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างที่นำขึ้นมาใช้ประโยชน์ทั้งสิ้น 836 ตัน คิดเป็นมูลค่า 2.23 ล้านบาท (สถิติกรมประมง , 2533) คิดเฉลี่ยโดยน้ำหนักเป็น ลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ปะปนอยู่ในปลาเป็ดทั้งสิ้น 502 ตัน จะเห็นว่าในปีหนึ่งๆ อวนรุนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทำลายลูกสัตว์น้ำที่ถูกจับขึ้นมาก่อนวัยอันเหมาะสมคิดเป็นมูลค่ามหาศาล ทั้งนี้เพราะอวนรุนมักจะทำการ ประมงบริเวณใกล้ฝั่งหรือกล่าวได้ว่าอยู่ในเขต 3,000 เมตรทั้งสิ้น ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน ยกเว้นการทำประมงอวนรุนใหญ่ในบางฤดูการเท่านั้น นับเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำเสื่อมโทรมลง ซึ่งในการจัดการประมง นับว่าเป็นการใช้ ทรัพยากรไปอย่างขาดประสิทธิภาพ กล่าวคือ แทนที่จะปล่อยให้สัตว์น้ำที่ยังเติบโตไม่ได้ขนาดนั้น เจริญเติบโตไป อีกระยะหนึ่ง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มขนาดและมูลค่า และ ได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่า กับการนำเอาสัตว์ที่ยังมีขนาดเล็กมากมาใช้และขายในราคาต่ำรวมกับปลาเป็ด หากมีการชะลอการจับลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจเหล่านี้ให้โตขึ้นมาจนขนาดพอควร สัตว์น้ำต่างๆ จะมีโอกาสขยายพันธุ์ให้ลูกสัตว์น้ำไว้สืบต่อทดแทนสัตว์น้ำขนาดใหญ่ที่ถูกจับไป ทรัพยากรก็จะไม่เสื่อมโทรมอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้จากการศึกษาดังกล่าว ได้รายงานให้เห็นความสูญเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการประมงอวนรุน บริเวณอ่าวไทยตอนล่างในปี 2533 สามารถประเมินให้เห็นภาพรวมได้โดยคำนวณจากเรืออวนรุนที่ทำการประมงทั้ง 4 แหล่ง คือ บริเวณอ่าวปัตตานี,บริเวณนอกอ่าวปัตตานี,บริเวณทะเลสาบตอนนอกของทะเลสาบสงขลา,บริเวณอ่าวนครฯ จ.นครศรีธรรมราช จะประกอบด้วยอวนรุนใหญ่ประมาณ 80 ลำและอวนเล็กประมาณ 400 ลำ เรือดังกล่าวสามารถออกทำประมงได้เต็มที่ประมาณ 8 เดือนๆละ 20 วัน ฉะนั้นสามารถคำนวณความสูญเสียทางเศรษฐกิจทั้งหมดจากการที่อวนรุนจับสัตว์น้ำขึ้นมาก่อนวัยอันเหมาะสม มีมูลค่าทั้งสิ้นเท่ากับ 135 ล้านบาทต่อปี เมื่อพิจารณาจากผลผลิต ปลาเป็ดและมูลค่าบริเวณอ่าวไทยตอนล่างปี 2533ปลาเป็ดมีราคาเฉลี่ยทั้งหมดเท่ากับ 2,667 บาท/ตัน หรือ 2.27 บาท/กก. จากผลผลิตปลาเป็ดทั้งหมดประเมินได้ว่าเป็นลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจอยู่ถึง 502 ตัน เมื่อขายเป็นปลาเป็ดจะได้มูลค่าเพียง1.34 ล้านบาทเท่านั้น ดั้งนั้นการประมงอวนรุนจึงก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจถึงปีละ 135 ล้านบาทจากรายงานศึกษาวิจัยของกรมประมงตามตารางดังกล่าวข้างต้น สามารถประมาณความสูญเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการประมงอวนรุนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างในปี 2533 ให้เห็นภาพรวมได้โดยคำนวณจากจำนวน เรืออวนรุนที่ทำการประมงบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทั้ง 4 แหล่ง ที่กล่าวไว้แล้วตอนต้

No comments: