ชื่อไทย... ก้างพระร่วง
ภาคกลาง... ปลาก้างพระร่วง, ปลากระจก
ภาคใต้... ปลาบาง, ปลาผี
ชื่อสามัญ... Glass Catfish
ชื่อวิทยาศาสตร์........ Kryptopterus bicirrhis
ถิ่นที่อยู่อาศัย..... เป็นปลาในเขตร้อน ภาคพื้นเอเชียแปซิคฟิก พบที่เกาะบอร์เนียว เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ในประเทศไทยมีรายงานว่าเคยพบที่จังหวัดนครนายก จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด และทางภาคใต้ปัจจุบันทางภาคกลางนั้นพบได้น้อยมาก แทบหาไม่พบในธรรมชาติ แต่ยังคงพบปลาก้างพระร่วงนี้ในแหล่งน้ำตาม ธรรมชาติทางภาคใต้ แถบจังหวัดสุราษฏธานี นครศรีธรรมราช สตูล พัทลุง และสงขลา
พบตามแหล่งน้ำไหลและเย็นมีร่มไม้รกครึ้ม เวลากลางวัน มักหลบอยู่ตามรากไม้ และแนวร่มไม้ที่ขึ้นตามชายน้ำ เวลากลางคืนจึงจะออกมาหาเหยื่อ เป็นปลาที่ชอบลอยตัวรวมฝูงตั้งแต่ 10 – 20 ตัว มักอยู่เป็นที่ กินอาหารประเภทแพลงก์ตอนสัตว์ ตัวอ่อนแมลงน้ำที่มีชีวิต ลูกน้ำและสัตว์น้ำขนาดเล็กในธรรมชาติพบมากในบริเวณอำเภอเขาชัยสน จ.พัทลุง ระหว่างเดือนมกราคม – เดือนพฤษภาคมของทุกปี
ขนาด.... ขนาดเฉลี่ยทั่วไปประมาณ 8 – 10 ซม. สูงสุดไม่เกิน 15 ซม.
ลักษณะทั่วไป..... เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กประเภทไม่มีเกล็ด ลำตัวยาว แบนข้างคล้ายปลาเนื้ออ่อน แต่มีขนาดเล็กโปร่งแสง ทำให้มองเห็นก้างภายในตัว ได้อย่างชัดเจน ลำตัวยาวแบนข้างมีหนวด 2 คู่ หนวดคู่แรกอยู่บนขากรรไกรบน มีขนาดยาวและชี้ไปด้านหน้า ส่วนหนวดคู่ที่ 2 มีขนาดสั้น อยู่บนขากรรไกรล่าง ครีบหลังมีขนาดเล็กและสั้นมากแทบมองไม่เห็น ครีบก้นยาวตลอดจนถึงครีบหาง หัวมีขนาดเล็ก จะงอยปากสั้น ตากลมโต เฉพาะส่วนของหัวและกระเพาะอาหารเท่านั้นที่ทึบแสง ท่อนหางโค้งงอเล็กน้อย ปลาก้างพระร่วง เป็นปลาสวยงามชนิดหนึ่งที่นักเลี้ยงปลาตู้นิยมนำมาเลี้ยงอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นปลาที่มีลักษณะแปลก เลี้ยงง่าย ขนาดพอเหมาะ และมีนิสัยรักสงบ สามารถเลี้ยงร่วมกับปลาอื่นได้เป็นอย่างดี จากการที่ปลาก้างพระร่วงต้องอาศัยอยู่ในน้ำสะอาดที่ใสเย็น รกครึ้มด้วยร่มไม้ชายน้ำ ดังนั้นการขุดลอกคลองเพื่อการพัฒนาใด ๆ ก็ตามที่จะทำให้น้ำขุ่นเป็นตะกอน และทำลายต้นไม้ที่ขึ้นตามชายน้ำ ตลอดจนรากไม้ที่เป็นแหล่งหลบพักอาศัยและซ่อนตัวของปลา ย่อมเป็นการทำลายระบบนิเวศแหล่งที่อยู่อาศัยตลอดจนแหล่งเพาะพันธุ์และวางไข่ในธรรมชาติ จะเป็นสาเหตุทำให้ปลาชนิดนี้สูญพันธุ์ไปจากแหล่งน้ำได้
ภาคกลาง... ปลาก้างพระร่วง, ปลากระจก
ภาคใต้... ปลาบาง, ปลาผี
ชื่อสามัญ... Glass Catfish
ชื่อวิทยาศาสตร์........ Kryptopterus bicirrhis
ถิ่นที่อยู่อาศัย..... เป็นปลาในเขตร้อน ภาคพื้นเอเชียแปซิคฟิก พบที่เกาะบอร์เนียว เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ในประเทศไทยมีรายงานว่าเคยพบที่จังหวัดนครนายก จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด และทางภาคใต้ปัจจุบันทางภาคกลางนั้นพบได้น้อยมาก แทบหาไม่พบในธรรมชาติ แต่ยังคงพบปลาก้างพระร่วงนี้ในแหล่งน้ำตาม ธรรมชาติทางภาคใต้ แถบจังหวัดสุราษฏธานี นครศรีธรรมราช สตูล พัทลุง และสงขลา
พบตามแหล่งน้ำไหลและเย็นมีร่มไม้รกครึ้ม เวลากลางวัน มักหลบอยู่ตามรากไม้ และแนวร่มไม้ที่ขึ้นตามชายน้ำ เวลากลางคืนจึงจะออกมาหาเหยื่อ เป็นปลาที่ชอบลอยตัวรวมฝูงตั้งแต่ 10 – 20 ตัว มักอยู่เป็นที่ กินอาหารประเภทแพลงก์ตอนสัตว์ ตัวอ่อนแมลงน้ำที่มีชีวิต ลูกน้ำและสัตว์น้ำขนาดเล็กในธรรมชาติพบมากในบริเวณอำเภอเขาชัยสน จ.พัทลุง ระหว่างเดือนมกราคม – เดือนพฤษภาคมของทุกปี
ขนาด.... ขนาดเฉลี่ยทั่วไปประมาณ 8 – 10 ซม. สูงสุดไม่เกิน 15 ซม.
ลักษณะทั่วไป..... เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กประเภทไม่มีเกล็ด ลำตัวยาว แบนข้างคล้ายปลาเนื้ออ่อน แต่มีขนาดเล็กโปร่งแสง ทำให้มองเห็นก้างภายในตัว ได้อย่างชัดเจน ลำตัวยาวแบนข้างมีหนวด 2 คู่ หนวดคู่แรกอยู่บนขากรรไกรบน มีขนาดยาวและชี้ไปด้านหน้า ส่วนหนวดคู่ที่ 2 มีขนาดสั้น อยู่บนขากรรไกรล่าง ครีบหลังมีขนาดเล็กและสั้นมากแทบมองไม่เห็น ครีบก้นยาวตลอดจนถึงครีบหาง หัวมีขนาดเล็ก จะงอยปากสั้น ตากลมโต เฉพาะส่วนของหัวและกระเพาะอาหารเท่านั้นที่ทึบแสง ท่อนหางโค้งงอเล็กน้อย ปลาก้างพระร่วง เป็นปลาสวยงามชนิดหนึ่งที่นักเลี้ยงปลาตู้นิยมนำมาเลี้ยงอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นปลาที่มีลักษณะแปลก เลี้ยงง่าย ขนาดพอเหมาะ และมีนิสัยรักสงบ สามารถเลี้ยงร่วมกับปลาอื่นได้เป็นอย่างดี จากการที่ปลาก้างพระร่วงต้องอาศัยอยู่ในน้ำสะอาดที่ใสเย็น รกครึ้มด้วยร่มไม้ชายน้ำ ดังนั้นการขุดลอกคลองเพื่อการพัฒนาใด ๆ ก็ตามที่จะทำให้น้ำขุ่นเป็นตะกอน และทำลายต้นไม้ที่ขึ้นตามชายน้ำ ตลอดจนรากไม้ที่เป็นแหล่งหลบพักอาศัยและซ่อนตัวของปลา ย่อมเป็นการทำลายระบบนิเวศแหล่งที่อยู่อาศัยตลอดจนแหล่งเพาะพันธุ์และวางไข่ในธรรมชาติ จะเป็นสาเหตุทำให้ปลาชนิดนี้สูญพันธุ์ไปจากแหล่งน้ำได้
No comments:
Post a Comment