กลุ่ม ปวส.2
1. กลุ่มที่ 2 เพราะ มีการพัฒนาหน้า Blog ที่ดีขึ้นเนื้อหาเข้าใจง่าย และมีประโยชในด้านการทำการประมงโดยใช้เครื่องมือทำการประมงได้ถูกต้อง
2. กลุ่มที่ 1 เพราะ หน้า Blog มีการพัฒนา ถึงแม้ว่ารูปแบบในการเขียนไม่มีการย่อแต่ก็พอเข้าใจในเนื้อหาที่ทำ แต่โดยรวมถือว่าใช้ได้
3. กลุ่มที่ 5 เพราะ หน้า Blog เริ่มมีการพัฒนา มีการสรุปเนื้อหาที่ดีขึ้นทำให้สามารถอ่านได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น และมีการพัฒนาด้านการ POST
กลุ่ม ปวส.1
1. กลุ่มที่ 14 เพราะ หน้า Blog มีความสวยงามและเนื้อหามีประโยชน์ ทำให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
2. กลุ่มที่ 13 เพราะ เพระรูปแบบมีการพัฒนามากกว่าเดิม มีเนื้อหาสมบูรณ์ ได้ความรู้เกี่ยวกับการทำลายล้างสัตว์น้ำ ด้วยเครื่องมือทำการประมงต่างๆ
3. กลุ่มที่ 16 เพราะ ได้ความรู้ในด้านการอนุรักษ์ป่าชายเลน แต่หน้า Blog ยังไม่ค่อยมีการพัฒนา แต่ก็น่าอ่านกว่ากลุ่มอื่น
สัตว์น้ำคุ้มครองและใกล้สูญพันธุ์
Wednesday, February 21, 2007
องค์การสะพานปลา
ความเป็นมาของหน่วยงาน
ในอดีตการขนถ่ายและจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำเค็มของกรุงเทพฯ มีศูนย์รวมอยู่ที่ถนนทรงวาด อำเภอสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ ส่วนการจำหน่ายสัตว์น้ำจืดมีศูนย์รวมอยู่ที่หัวลำโพง ริมคลองผดุงกรุงเกษม สถานที่ทั้งสองแห่งดังกล่าวคับแคบและสกปรก ทำให้การดำเนินธุรกิจไปอย่างไม่สะดวก ในปี พ.ศ.2491 องค์การอาหารและเกษตรแห่ง
สหประชาชาติ (FAO) ได้ส่งคณะผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย Dr. K.F. VASS และ Dr. J. REUTER
มาศึกษาภาวะการประมงของประเทศไทยตามคำร้องขอของรัฐบาล ซึ่งคณะผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวได้เสนอว่าระบบตลาดปลาที่มีอยู่เดิมยังขาดหลักการดำเนินงานทางวิชาการและขาดการสงเคราะห์ในด้านสังคมและเศรษฐกิจสมควรที่รัฐบาลจะเข้าดำเนินการแก้ไขปรับปรุงในด้านต่างๆ 6 ประการ ดังนี้
1.บริการเกี่ยวกับการขนส่งสัตว์น้ำไปสู่ตลาด (การขนส่ง)
2.บริการเกี่ยวกับการเก็บสินค้าสัตว์น้ำที่สะพานปลา (ห้องเย็น)
3.การจัดระบบเลหลังสินค้าสัตว์น้ำ (ตลาดกลางหรือสะพานปลา)
4.จัดองค์การให้ชาวประมงกู้ยืมเงินทุนและออมสิน (สินเชื่อการเกษตร)
5.บริการเกี่ยวกับการขายวัตถุดิบและอุปกรณ์การประมง (เครื่องมือและอุปกรณ์)
6.บริการเกี่ยวกับการส่งเสริมการประมง แนะนำทางวิชาการและอื่นๆ ตลอดจนบริการเกี่ยวกับป่วยเจ็บ
(วิชาการและสวัสดิการ)
จากข้อเสนอดังกล่าวข้างต้น เพื่อดำเนินงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจการประมงด้านการตลาด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้จัดทำโครงการเสนอรัฐบาล เมื่อรัฐบาลรับหลักการและเห็นชอบให้ดำเนินการแล้ว กรมประมงจึงได้เริ่มงานในการก่อสร้างสะพานปลาของรัฐขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลยานนาวา อำเภอยานนาวา กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2492 ต่อมาได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2496 อันเป็นกฎหมายในการจัดตั้งองค์การสะพานปลา องค์การสะพานปลาจึงได้ถือกำเนิดตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
วัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
1.จัดดำเนินการและนำมาซึ่งความเจริญของสะพานปลา ตลาดสินค้าสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมการประมง
2.จัดดำเนินการหรือควบคุม และอำนวยบริการซึ่งกิจการแพปลา การขนส่งและกิจการอื่น ๆ อันเกี่ยวกับกิจการ
แพปลา
3.จัดส่งเสริมฐานะสวัสดิการ หรืออาชีพของชาวประมง และบูรณะหมู่บ้านการประมง
4.จัดส่งเสริมสหกรณ์หรือสมาคมการประมง
(1.1) สร้าง ซื้อ จัดหา จำหน่าย เช่า ให้เช่า ถือกรรมสิทธิ์หรือครอบครองซึ่งทรัพย์สินต่างๆ
(1.2) กู้ยืมเงินหรือยืมสิ่งของ
การดำเนินงานขององค์การสะพานปลา
ได้กำหนดกิจกรรมหลักในการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ของการจัดตั้งตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบ
กิจการแพปลา พ.ศ.2496 ดังนี้
1. การจัดบริการพื้นฐานทางการประมง องค์การสะพานปลาเป็นรัฐวิสาหกิจจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเพื่อทำหน้าที่
ให้บริการตลาดสินค้าสัตว์น้ำ โดยได้ก่อสร้างสะพานปลาและท่าเทียบเรือประมงที่ได้มาตรฐานเพื่อให้บริการสถาน
ที่ขนถ่าย และเป็นตลาดกลางซื้อขายสัตว์น้ำพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน เช่น เครื่องชั่ง เครื่องมือขนถ่ายสัตว์น้ำ ภาชนะบรรจุก่อนการขนส่งและอื่น ๆ การดำเนินการต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นการให้บริการพื้นฐานทางการประมง เพื่อสร้างระบบและความมีระเบียบในการซื้อขายสัตว์น้ำ รักษาระดับราคาที่เป็นธรรม ป้องกันการผูกขาด
เป็นกิจการสาธารณะที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง ผลตอบแทนต่ำ ซึ่งรัฐพึงจัดดำเนินงาน
2. การพัฒนาการประมง การพัฒนาการประมงเป็นหน้าที่สำคัญที่องค์การสะพานปลาดำเนินงานเพื่อช่วย
ชาวประมงสามารถพัฒนาความรู้ ความสามารถในการประกอบการให้สูงขึ้น ตลอดจนการแสวงหาวิธีการทำประมง
รูปแบบใหม่เพื่อทดแทนการลดลงของทรัพยากรสัตว์น้ำของประเทศที่ถดถอยลง ดำเนินงานโดยการให้การศึกษา อบรม การสัมมนาและการดูงานแก่ชาวประมง ผู้นำชาวประมง ผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการประมง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในการทำประมงที่ทันสมัย เช่น การทำประมงอวนล้อมจับน้ำลึก และการทำประมงเบ็ดราวปลาทูน่า การดำเนินงานโครงการสินเชื่อสำหรับจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการทำประมง เพื่อช่วยเหลือชาวประมงที่ด้อยโอกาสในการดำเนินงานให้สามารถปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น
3. การส่งเสริมการประมงการส่งเสริมการประมง เป็นกิจกรรมที่องค์การสะพานปลาดำเนินงาน ตามมาตรา 20แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 ซึ่งกำหนดให้องค์การสะพานปลาแบ่งส่วนรายได้ร้อยละ25 จากค่าบริการที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบกิจการแพปลา จัดตั้งเป็นเงินทุนส่งเสริมการประมง เพื่อนำมาช่วยเหลือชาวประมงในรูปการให้เปล่า เพื่อใช้ในกิจการสาธารณะประโยชน์แก่ชุมชนชาวประมง ให้กู้ยืมแก่สถาบันการประมง
เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนดำเนินธุรกิจสร้างหรือขยายท่าเทียบเรือประมงขนาดเล็กในท้องถิ่น การให้เงินทุนช่วยเหลือ
การศึกษาบุตรชาวประมง การให้เงินทุนวิจัยทางการประมง แก่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ตลอดจนการให้เงินช่วยเหลือครอบครัวแก่ชาวประมงที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุบัติภัยทางทะเลหรือถูกจับในต่างประเทศ
4. การดำเนินงานธุรกิจการประมง การดำเนินธุรกิจการประมงเป็นกิจกรรมสนับสนุนเพื่อช่วยเหลือการดำเนินงาน
แก่ชาวประมงและเพื่อเป็นการพัฒนาและปรับปรุงงานให้ดีขึ้น ประกอบด้วย การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม องค์การสะพานปลาได้ดำเนินการจำหน่ายน้ำมันราคาต่ำกว่าท้องตลาดแก่ชาวประมง โดยดำเนินงานผ่านกลุ่มเกษตรกรทำประมง สหกรณ์ประมง และตัวแทนจำหน่ายน้ำมันในหมู่บ้านชาวประมง ผลการดำเนินงานทำให้ชาวประมงขนาดเล็กและขนาดกลางได้รับประโยชน์จากการซื้อน้ำมันราคาถูก อันเป็นการลดต้นทุนการทำประมง การจำหน่ายน้ำแข็ง องค์การสะพานปลาได้ทำการผลิตน้ำแข็ง ณ ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราชเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ชาวประมง และผู้ค้าสัตว์น้ำโดยไม่ต้องรอน้ำแข็งจากภายนอกท่าเทียบเรือประมง ซึ่งต้องเสียเวลาในการขนส่ง การจำหน่ายสัตว์น้ำ องค์การสะพานปลาได้เป็นตัวแทนจำหน่าย และรับซื้อสัตว์น้ำจากชาวประมง ที่ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราช และท่าเทียบเรือประมงนราธิวาส เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการซื้อขายสัตว์น้ำในลักษณะตลาดกลางภายในท่าเทียบเรือประมง เป็นการรักษาระดับราคาสัตว์น้ำที่เป็นธรรมแกชาวประมงที่นำสัตว์น้ำมาจำหน่าย เป็นการกระตุ้นการแข่งขันการดำเนินธุรกิจแพปลา
หน่วยงานขององค์การสะพานปลา
สะพานปลากรุงเทพ
http://www.fishmarket.co.th/web/bangkok.html
สะพานปลาสมุทรสาคร
http://www.fishmarket.co.th/web/sakorn.html
สะพานปลาสมุทรปราการ
http://www.fishmarket.co.th/web/pakarn.html
ท่าเทียบเรือสงขลา-1
http://www.fishmarket.co.th/web/skla.html
ท่าเทียบเรือสงขลา-2 (ท่าสะอ้าน)
http://www.fishmarket.co.th/web/tasaan.html
ท่าเทียบเรือระนอง
http://www.ranong.fishmarket.co.th/
ท่าเทียบเรือสุราษฎร์ธานี
http://www.fishmarket.co.th/web/surat.html
ท่าเทียบเรือประมงปัตตานี
http://www.fishmarket.co.th/web/pattanee.html
ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต
http://www.phuket.fishmarket.co.th/
ท่าเทียบเรือประมงหัวหิน
http://www.fishmarket.co.th/web/huahin.html
ท่าเทียบเรือประมงตราด
http://www.fishmarket.co.th/web/trad.html
ท่าเทียบเรือประมงสตูล
http://www.fishmarket.co.th/web/stoon.html
ท่าเทียบเรือประมงปราณบุรี
http://www.fishmarket.co.th/web/parn.html
ท่าเทียบเรือประมงชุมพร
http://www.fishmarket.co.th/web/chumporn.html
ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราช
http://www.fishmarket.co.th/web/nkorn.html
ท่าเทียบเรือประมงหลังสวน
http://www.fishmarket.co.th/web/lungsuan.html
ท่าเทียบเรอประมงอ่างศิลา
http://www.fishmarket.co.th/web/sila.html
ท่าเทียบเรือประมงนราธิวาศ
http://www.fishmarket.co.th/web/nara.htm
link : http://www.kodmhai.com/m4/m4-4/H2/m5-28.html
Tuesday, January 23, 2007
กระเบนราหู
กระเบนราหู เป็นปลากระดูกอ่อนขนาดใหญ่อีกชนิดหนึ่ง มีส่วนของจะงอยปากยื่นยาวออกไปคล้ายครีบ ช่วยในการโบกพัดอาหารซึ่งก็ได้แก่แพลงตอนและสัตว์น้ำขนาดเล็กๆ เนื่องจากรูปร่างอันใหญ่โตของมัน บางครั้งเลยได้รับการขนานนามว่ากระเบนปีศาจ
ดาวทะเลดาวทะเล
อยู่ในกลุ่มเดียวกับเม่นทะเลและปลิงทะเล ปากจะอยู่ทางด้านล่าง กินสาหร่ายและอินทรียวัตถุตามพื้นท้องทะเล เป็นอาหาร เคลื่อนที่ได้โดยใช้อวัยวะคล้ายขา ซึ่งอยู่ใต้แนวแขนที่ยื่นออกไปเป็นแฉกเดิน
ระเบียบกรมประมง
ระเบียบกรมประมง
ว่าด้วยการยื่นคำขอและการออกหนังสือรับรองสัตว์น้ำที่มิได้อยู่ในบัญชีท้ายอนุสัญญา
ว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดของสัตว์ป่าและพืชป่าที่กำลังจะสูญพันธุ์พ.ศ.2547อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ.2545 อธิบดีกรมประมงจึงออกระเบียบกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาปฏิบัติราชการสำหรับการยื่นคำขอหนังสือรับรองสัตว์น้ำที่มิได้อยู่ในบัญชีท้ายอนุสัญญา
ปลาน้ำจืดที่ใกล้สูญพันธุ์
ปลาบึก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pangasianodon gigas (Chevey, 1930)
ขนาด ขนาดใหญ่ที่สุด เท่าที่เคยพบ ลำตัวยาว ถึง ๒.๕ เมตร หนักถีง ๓๐๐ กิโลกรัม
ถิ่นอาศัย เฉพาะแม่น้ำสายหลัก ของ แม่น้ำโขง และ ทะเลสาบเขมร
ปลาบึก มีลักษณะรูปร่าง คล้ายกับ ปลาสวาย (P. hypophthalmus) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันคือ Pangasianodon ปลาในสกุลนี้ มีก้านครีบท้อง มากถึงแปดเก้าอัน ปากกว้าง และมีฟัน บนขากรรไกร น้อยมาก เมื่อเทียบกับ ปลาชนิดอื่นๆ ในวงศ์เดียวกัน
โพงพาง - ไซนั่งปัญหาผลกระทบต่อประชากรสัตว์น้ำ
ถือได้ว่า โพงพาง และไซนั่งเป็นเครื่องมือประมงที่พบเห็นได้มากในทะเลสาบสงขลา และเป็นเครื่องมือที่สามารถจับสัตว์น้ำขึ้นมาสู่ผู้บริโภคได้เป็นจำนวนมากในแต่ละวันจึงเกิดข้อสงสัยขึ้นมาว่า"แล้วมันจะมีผลต่อประชากรสัตว์น้ำในทะเลสาบเพียงใด?" เพราะทั้งโพงพางและไซนั่งนั้นมีมากเหลือเกินแทบจะทุกตารางเมตรในทะเลสาบเลยทีเดียว
linkhttp://72.14.235.104/search?q=cache:bcWoBRTry6AJ:www.dmcr.go.th/
ถือได้ว่า โพงพาง และไซนั่งเป็นเครื่องมือประมงที่พบเห็นได้มากในทะเลสาบสงขลา และเป็นเครื่องมือที่สามารถจับสัตว์น้ำขึ้นมาสู่ผู้บริโภคได้เป็นจำนวนมากในแต่ละวันจึงเกิดข้อสงสัยขึ้นมาว่า"แล้วมันจะมีผลต่อประชากรสัตว์น้ำในทะเลสาบเพียงใด?" เพราะทั้งโพงพางและไซนั่งนั้นมีมากเหลือเกินแทบจะทุกตารางเมตรในทะเลสาบเลยทีเดียว
linkhttp://72.14.235.104/search?q=cache:bcWoBRTry6AJ:www.dmcr.go.th/
Wednesday, January 17, 2007
สัตว์น้ำที่ได้รับการคุ้มครอง Cites
1 สัตว์น้ำจำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม
2 สัตว์น้ำจำพวกเลื้อยคลาน
3 สัตว์น้ำจำพวกปลา
4 สัตว์น้ำจำพวกสะเทิ้นน้ำทะเทิ้นบก
5 สัตว์น้ำจำพวกไม่มีกระดูกสันหลัง
linkhttp://www.fisheries.go.th/fpo%2Dudonthani/cites01.htm
1 สัตว์น้ำจำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม
2 สัตว์น้ำจำพวกเลื้อยคลาน
3 สัตว์น้ำจำพวกปลา
4 สัตว์น้ำจำพวกสะเทิ้นน้ำทะเทิ้นบก
5 สัตว์น้ำจำพวกไม่มีกระดูกสันหลัง
linkhttp://www.fisheries.go.th/fpo%2Dudonthani/cites01.htm
มาตรการอนุรักษ์เต่าทะเล
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2537 กำหนดให้เต่าทะเลตามบัญชีแนบท้ายตามกฎกระทรวงนี้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
linkhttp://www.google.com/search?q=cache:-y4URTLfcIIJ:www.nicaonline.com/
linkhttp://www.google.com/search?q=cache:-y4URTLfcIIJ:www.nicaonline.com/
Monday, January 8, 2007
สำรวจและประเมินสถานภาพปลาโลมาอิรวดีในทะเลสาบสงขลา วันที่ 18 ธันวาคม 2547 ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง ร่วมกับชมรมรักโลมาอิรวดี ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จังหวัดพัทลุง และคณะชาวญี่ปุ่น นำโดย ดร. อากามาสึ ได้ทำการสำรวจโลมาอิรวดี ทางเรือ โดยใช้เครื่องไฮโดรโฟน เพื่อ ตรวจหาคลื่นเสียงของโลมา จากใต้น้ำ ในบริเวณทะเลหลวงซึ่งเป็นทะเลสาบตอนกลาง ซึ่งในวันที่ทำการสำรวจมีคลื่นลมรุนแรง ทำให้เป็นอุปสรรค ต่อการสำรวจทำให้ไม่สามารถจับคลื่นเสียงของโลมาอิรวดีได้ และจากการสอบถามชาวประมงทำให้ทราบว่าในช่วงที่คลื่นลมแรง ฝูงโลมา จะอพยพไปอยู่บริเวณหลังเกาะใหญ่ อ.กระแสสินธุ์และบริเวณแหลมจองถนน อ.ปากพะยูน
สำรวจสัตว์ทะเลหายากในพื้นที่อ่าวไทยตอนล่าง อ.นครศรีธรรมราช และ จ.สงขลา ซึ่งในวันที่ 7 – 11 มีนาคม 2548 ได้สำรวจข้อมูลสัตว์ทะเลหายาก ตั้งแต่ อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช ถึง อ.เทพา จ. สงขลา โดยการสัมภาษณ์ชาวประมงพื้นบ้าน ทำให้ทราบว่า โลมาหลังโหนก พบมากใน จ.นครศรีธรรมราช และ จ.สงขลา โดยเฉพาะ อ.ขนอม – อ. สิชล พบโลมาหลังโหนก และพบซากโลมา 3 ตัว ที่ อ. สิชล จ. นครศรีธรรมราชนั้นพบ 1 ตัว เป็นโลมาหัวบาตรหลังเรียบ (Finless Porpoise) ความยาวประมาณ 1. 3 เมตร ส่วนอีก 2 ตัวนั้นเป็นโลมาหลังโหนก (Indo-Pacific-humpbacked dolphin) พบที่ อ.ระโนด
สำรวจสัตว์ทะเลหายากในพื้นที่อ่าวไทยตอนล่าง อ.นครศรีธรรมราช และ จ.สงขลา ซึ่งในวันที่ 7 – 11 มีนาคม 2548 ได้สำรวจข้อมูลสัตว์ทะเลหายาก ตั้งแต่ อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช ถึง อ.เทพา จ. สงขลา โดยการสัมภาษณ์ชาวประมงพื้นบ้าน ทำให้ทราบว่า โลมาหลังโหนก พบมากใน จ.นครศรีธรรมราช และ จ.สงขลา โดยเฉพาะ อ.ขนอม – อ. สิชล พบโลมาหลังโหนก และพบซากโลมา 3 ตัว ที่ อ. สิชล จ. นครศรีธรรมราชนั้นพบ 1 ตัว เป็นโลมาหัวบาตรหลังเรียบ (Finless Porpoise) ความยาวประมาณ 1. 3 เมตร ส่วนอีก 2 ตัวนั้นเป็นโลมาหลังโหนก (Indo-Pacific-humpbacked dolphin) พบที่ อ.ระโนด
ชื่อไทย... ก้างพระร่วง
ภาคกลาง... ปลาก้างพระร่วง, ปลากระจก
ภาคใต้... ปลาบาง, ปลาผี
ชื่อสามัญ... Glass Catfish
ชื่อวิทยาศาสตร์........ Kryptopterus bicirrhis
ถิ่นที่อยู่อาศัย..... เป็นปลาในเขตร้อน ภาคพื้นเอเชียแปซิคฟิก พบที่เกาะบอร์เนียว เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ในประเทศไทยมีรายงานว่าเคยพบที่จังหวัดนครนายก จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด และทางภาคใต้ปัจจุบันทางภาคกลางนั้นพบได้น้อยมาก แทบหาไม่พบในธรรมชาติ แต่ยังคงพบปลาก้างพระร่วงนี้ในแหล่งน้ำตาม ธรรมชาติทางภาคใต้ แถบจังหวัดสุราษฏธานี นครศรีธรรมราช สตูล พัทลุง และสงขลา
พบตามแหล่งน้ำไหลและเย็นมีร่มไม้รกครึ้ม เวลากลางวัน มักหลบอยู่ตามรากไม้ และแนวร่มไม้ที่ขึ้นตามชายน้ำ เวลากลางคืนจึงจะออกมาหาเหยื่อ เป็นปลาที่ชอบลอยตัวรวมฝูงตั้งแต่ 10 – 20 ตัว มักอยู่เป็นที่ กินอาหารประเภทแพลงก์ตอนสัตว์ ตัวอ่อนแมลงน้ำที่มีชีวิต ลูกน้ำและสัตว์น้ำขนาดเล็กในธรรมชาติพบมากในบริเวณอำเภอเขาชัยสน จ.พัทลุง ระหว่างเดือนมกราคม – เดือนพฤษภาคมของทุกปี
ขนาด.... ขนาดเฉลี่ยทั่วไปประมาณ 8 – 10 ซม. สูงสุดไม่เกิน 15 ซม.
ลักษณะทั่วไป..... เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กประเภทไม่มีเกล็ด ลำตัวยาว แบนข้างคล้ายปลาเนื้ออ่อน แต่มีขนาดเล็กโปร่งแสง ทำให้มองเห็นก้างภายในตัว ได้อย่างชัดเจน ลำตัวยาวแบนข้างมีหนวด 2 คู่ หนวดคู่แรกอยู่บนขากรรไกรบน มีขนาดยาวและชี้ไปด้านหน้า ส่วนหนวดคู่ที่ 2 มีขนาดสั้น อยู่บนขากรรไกรล่าง ครีบหลังมีขนาดเล็กและสั้นมากแทบมองไม่เห็น ครีบก้นยาวตลอดจนถึงครีบหาง หัวมีขนาดเล็ก จะงอยปากสั้น ตากลมโต เฉพาะส่วนของหัวและกระเพาะอาหารเท่านั้นที่ทึบแสง ท่อนหางโค้งงอเล็กน้อย ปลาก้างพระร่วง เป็นปลาสวยงามชนิดหนึ่งที่นักเลี้ยงปลาตู้นิยมนำมาเลี้ยงอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นปลาที่มีลักษณะแปลก เลี้ยงง่าย ขนาดพอเหมาะ และมีนิสัยรักสงบ สามารถเลี้ยงร่วมกับปลาอื่นได้เป็นอย่างดี จากการที่ปลาก้างพระร่วงต้องอาศัยอยู่ในน้ำสะอาดที่ใสเย็น รกครึ้มด้วยร่มไม้ชายน้ำ ดังนั้นการขุดลอกคลองเพื่อการพัฒนาใด ๆ ก็ตามที่จะทำให้น้ำขุ่นเป็นตะกอน และทำลายต้นไม้ที่ขึ้นตามชายน้ำ ตลอดจนรากไม้ที่เป็นแหล่งหลบพักอาศัยและซ่อนตัวของปลา ย่อมเป็นการทำลายระบบนิเวศแหล่งที่อยู่อาศัยตลอดจนแหล่งเพาะพันธุ์และวางไข่ในธรรมชาติ จะเป็นสาเหตุทำให้ปลาชนิดนี้สูญพันธุ์ไปจากแหล่งน้ำได้
ภาคกลาง... ปลาก้างพระร่วง, ปลากระจก
ภาคใต้... ปลาบาง, ปลาผี
ชื่อสามัญ... Glass Catfish
ชื่อวิทยาศาสตร์........ Kryptopterus bicirrhis
ถิ่นที่อยู่อาศัย..... เป็นปลาในเขตร้อน ภาคพื้นเอเชียแปซิคฟิก พบที่เกาะบอร์เนียว เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ในประเทศไทยมีรายงานว่าเคยพบที่จังหวัดนครนายก จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด และทางภาคใต้ปัจจุบันทางภาคกลางนั้นพบได้น้อยมาก แทบหาไม่พบในธรรมชาติ แต่ยังคงพบปลาก้างพระร่วงนี้ในแหล่งน้ำตาม ธรรมชาติทางภาคใต้ แถบจังหวัดสุราษฏธานี นครศรีธรรมราช สตูล พัทลุง และสงขลา
พบตามแหล่งน้ำไหลและเย็นมีร่มไม้รกครึ้ม เวลากลางวัน มักหลบอยู่ตามรากไม้ และแนวร่มไม้ที่ขึ้นตามชายน้ำ เวลากลางคืนจึงจะออกมาหาเหยื่อ เป็นปลาที่ชอบลอยตัวรวมฝูงตั้งแต่ 10 – 20 ตัว มักอยู่เป็นที่ กินอาหารประเภทแพลงก์ตอนสัตว์ ตัวอ่อนแมลงน้ำที่มีชีวิต ลูกน้ำและสัตว์น้ำขนาดเล็กในธรรมชาติพบมากในบริเวณอำเภอเขาชัยสน จ.พัทลุง ระหว่างเดือนมกราคม – เดือนพฤษภาคมของทุกปี
ขนาด.... ขนาดเฉลี่ยทั่วไปประมาณ 8 – 10 ซม. สูงสุดไม่เกิน 15 ซม.
ลักษณะทั่วไป..... เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กประเภทไม่มีเกล็ด ลำตัวยาว แบนข้างคล้ายปลาเนื้ออ่อน แต่มีขนาดเล็กโปร่งแสง ทำให้มองเห็นก้างภายในตัว ได้อย่างชัดเจน ลำตัวยาวแบนข้างมีหนวด 2 คู่ หนวดคู่แรกอยู่บนขากรรไกรบน มีขนาดยาวและชี้ไปด้านหน้า ส่วนหนวดคู่ที่ 2 มีขนาดสั้น อยู่บนขากรรไกรล่าง ครีบหลังมีขนาดเล็กและสั้นมากแทบมองไม่เห็น ครีบก้นยาวตลอดจนถึงครีบหาง หัวมีขนาดเล็ก จะงอยปากสั้น ตากลมโต เฉพาะส่วนของหัวและกระเพาะอาหารเท่านั้นที่ทึบแสง ท่อนหางโค้งงอเล็กน้อย ปลาก้างพระร่วง เป็นปลาสวยงามชนิดหนึ่งที่นักเลี้ยงปลาตู้นิยมนำมาเลี้ยงอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นปลาที่มีลักษณะแปลก เลี้ยงง่าย ขนาดพอเหมาะ และมีนิสัยรักสงบ สามารถเลี้ยงร่วมกับปลาอื่นได้เป็นอย่างดี จากการที่ปลาก้างพระร่วงต้องอาศัยอยู่ในน้ำสะอาดที่ใสเย็น รกครึ้มด้วยร่มไม้ชายน้ำ ดังนั้นการขุดลอกคลองเพื่อการพัฒนาใด ๆ ก็ตามที่จะทำให้น้ำขุ่นเป็นตะกอน และทำลายต้นไม้ที่ขึ้นตามชายน้ำ ตลอดจนรากไม้ที่เป็นแหล่งหลบพักอาศัยและซ่อนตัวของปลา ย่อมเป็นการทำลายระบบนิเวศแหล่งที่อยู่อาศัยตลอดจนแหล่งเพาะพันธุ์และวางไข่ในธรรมชาติ จะเป็นสาเหตุทำให้ปลาชนิดนี้สูญพันธุ์ไปจากแหล่งน้ำได้
ชื่อไทย...บู่ใส
ชื่อสามัญ... Phallostethid fish
ชื่อวิทยาศาสตร์... Neostethus bicornis
ลักษณะโดยทั่วไป... ปลาบู่ใส เป็นปลาขนาดเล็ก ลำตัวยาว แบนข้างมาก ส่วนหัวสั้นประมาณ 18% ของความยาวมาตรฐาน ตาขนาดใหญ่ 36 – 37% ของความยาวส่วนหัว ปากยืดออกได้ มีฟันบนกรรไกรบนหนึ่งแถว ครีบหลังอันแรกลดรูปลงเหลือเพียงก้านครีบสั้น ๆ หนึ่งก้าน ครีบหลังอันที่ 2 มีก้านครีบแขนง จำนวน 5 ก้าน อยู่ห่างจากครีบหลังอันแรกเป็นระยะ ประมารครึ่งหนึ่งของความยาวของฐานครีบหลังอันที่ 2 ครีบหลังตั้งอยู่ทางส่วนท้ายของลำตัว ครีบก้นขนาดใหญ่ ความยาวของฐานครีบมากกว่าความยาวของฐานครีบหลังประมาณ 2 เท่า มีก้านครีบทั้งหมด 28 ก้าน ครีบท้องลดรูป ลงอยู่ข้อวัยวะช่วยสืบพันธ์ เกล็ดแบบขอบเรียบ ตามแนวข้างลำตัวจำนวน 35 – 36 เกล็ด เกล็ดรอบคอดหางจำนวน 12 เกล็ด
ที่อยู่อาศัย... อาศัยอยู่ในบริเวณป่าชายเลน รวมถึงบริเวณปากแม่น้ำต่าง ๆ ที่มีสภาพน้ำเป็นน้ำกร่อย
ขนาด... ความยาวเหยียด (Total length) สูงสุดประมาณ 30 ม.ม.
ชื่อวิทยาศาสตร์... Neostethus bicornis
ลักษณะโดยทั่วไป... ปลาบู่ใส เป็นปลาขนาดเล็ก ลำตัวยาว แบนข้างมาก ส่วนหัวสั้นประมาณ 18% ของความยาวมาตรฐาน ตาขนาดใหญ่ 36 – 37% ของความยาวส่วนหัว ปากยืดออกได้ มีฟันบนกรรไกรบนหนึ่งแถว ครีบหลังอันแรกลดรูปลงเหลือเพียงก้านครีบสั้น ๆ หนึ่งก้าน ครีบหลังอันที่ 2 มีก้านครีบแขนง จำนวน 5 ก้าน อยู่ห่างจากครีบหลังอันแรกเป็นระยะ ประมารครึ่งหนึ่งของความยาวของฐานครีบหลังอันที่ 2 ครีบหลังตั้งอยู่ทางส่วนท้ายของลำตัว ครีบก้นขนาดใหญ่ ความยาวของฐานครีบมากกว่าความยาวของฐานครีบหลังประมาณ 2 เท่า มีก้านครีบทั้งหมด 28 ก้าน ครีบท้องลดรูป ลงอยู่ข้อวัยวะช่วยสืบพันธ์ เกล็ดแบบขอบเรียบ ตามแนวข้างลำตัวจำนวน 35 – 36 เกล็ด เกล็ดรอบคอดหางจำนวน 12 เกล็ด
ที่อยู่อาศัย... อาศัยอยู่ในบริเวณป่าชายเลน รวมถึงบริเวณปากแม่น้ำต่าง ๆ ที่มีสภาพน้ำเป็นน้ำกร่อย
ขนาด... ความยาวเหยียด (Total length) สูงสุดประมาณ 30 ม.ม.
Subscribe to:
Posts (Atom)